เรือนมิชชั่นนารี มนต์เสน่ห์แห่งเรือนไม้สักโบราณ

“ เรือนมิชชั่นนารี ” เป็นชื่อเรียกบ้านเรือนไม้สักชั้นเดียวยกสูงของมิชชั่นอเมริกาที่เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาที่เมืองแพร่ เมื่อร้อยกว่าปีก่อน เรือนมิชชั่นนารี มีจำนวน 2 หลัง เรือนหลังแรก อยู่ในบริเวณโรงพยาบาลแพร่คริสเตียน  ส่วนเรือนหลังที่ 2 ปัจจุบันอยู่ในบริเวณสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดแพร่ ( กศน.จังหวัดแพร่ ) ถนนยันตรกิจโกศล

 

บ้านพักมิชชั่นนารี สร้างโดยกลุ่มกลุ่มผู้สอนศาสนาชาวอเมริกัน ที่ได้เดินทางมาตั้งรกรากที่จังหวัดแพร่พร้อมกับการจัดตั้ง โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน บ้านสีขาวหลังเก่าแก่อายุนับร้อยปี ที่ปัจจุบันทรุดโทรมไปมาก ร่มรื่นแวดล้อมด้วยไม้ใหญ่ต้นฉ่ำฉ่า *บ้านมิชชั่นนารี (อยู่ภายในโรงพยาบาลแพร่คริสเตียน) อ.เมือง จ.แพร่ สำหรับบ้านไม้สักร้อยปี หลังนี้เป็นอาคารเก่าตั้งอยู่ในบริเวณ โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน ต.ในเวียง อ.เมืองแพร่ สร้างโดย “คณะมิชชั่นลาวในสังกัดคริสตจักรเพรสไบทีเรียนสหรัฐอเมริกา” (The Laos Mission of the Presbyterian Church in the United States of America) ที่ได้เข้ามาตั้งศูนย์เผยแผ่ศาสนาที่ จ.แพร่ เมื่อปี พ.ศ.2436 (ค.ศ.1893) วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างเพื่อใช้เป็นที่พักและสำนักงานของครอบครัวมิชชั่นที่เข้ามาดูแลงานด้าน การเผยแผ่ศาสนา การศึกษา และการพยาบาล ใน จ.แพร ่คณะมิชชั่นลาวในสังกัดคริสตจักรเพรสไบทีเรียนที่สหรัฐอเมริกา เริ่มก่อตั้งในเดือนเมษายน พ.ศ.2410 (ค.ศ.1867) และยุบรวมเข้ากับคณะมิชชั่นสยาม พ.ศ.2463 (ค.ศ.1920) ตลอดระยะเวลาดำเนินงาน คณะมิชชั่นลาวมีศูนย์มิชชั่น 6 แห่งในประเทศไทย คือ จ.เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน และเชียงราย และยังมีศูนย์มิชชั่นที่เมืองเชียงตุง ประเทศพม่า และเมืองเชียงรุ่ง มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ใน พ.ศ.2409 (ค.ศ.1866) ผู้ก่อตั้งคณะมิชชั่นลาว คือศาสนาจารย์ แดเนียล แมคกิลวารี (Dr. Daniel McGilvary) ได้รับอนุญาตจากพระเจ้ากาวิโลรส เจ้าหลวงแห่งเชียงใหม่และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ให้ตั้งคณะมิชชั่นลาวได้ หลังจากนั้นอีกสองปีจึงมีการก่อตั้งคริสตจักรที่ 1 ที่เชียงใหม่ใน พ.ศ.2411 (ค.ศ.1868) ปี พ.ศ.2415 (ค.ศ.1872) ศาสนาจารย์แมคกิลวารีก็ได้เดินทางสำรวจจังหวัดต่าง ๆ ในหัวเมืองภาคเหนือ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเผยแผ่ศาสนา คณะสำรวจได้มาสำรวจที่จังหวัดแพร่ แต่ก็ยังไม่ได้ตัดสินใจก่อตั้งศูนย์มิชชั่นที่นี่ แต่อย่างใด ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๘ หลังจากนั้นการเดินทางมาจังหวัดแพร่ครั้งที่สองห่างกันถึง 18 ปี คือ พ.ศ.2433 (ค.ศ.1890) คณะสำรวจโดยศาสนาจารย์แมคกิลวารี นายและนางฮิวจ์ เทย์เลอร์ (Mr. and Mrs.Hugh Taylor) ได้มาที่จังหวัดแพร่อีกครั้ง มาตั้งค่ายพักแรมอยู่ที่ด้านนอกประตูมาร และได้บัพติสต์คริสเตียนชาวแพร่คนแรก คือ น้อยวงศ์ จากการเดินทางครั้งนี้ มิชชั่นลาวที่เชียงใหม่เห็นว่า จังหวัดแพร่เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ สมควรมีการเปิดศูนย์มิชชั่นที่นี่อย่างเร่งด่วน หมอบริกส์ (Dr. W. A. Briggs) คณะมิชชั่น ที่ร่วมงานกับ ศาสนาจารย์แมคกิลวารี จึงได้เสนอต่อคณะกรรมการมิชชั่นฝ่ายต่างประเทศของคริสตจักร (The Board of Foreign Missions) ที่สหรัฐอเมริกา ว่ายินดีจะออกเงินส่วนตัวล่วงหน้า เพื่อซื้อที่ดินในจังหวัดแพร่เป็นสถานที่ตั้งของศูนย์มิชชั่น เนื่องจากเกรงว่ายิ่งล่าช้าไปก็จะยิ่งทำให้เสียโอกาสในการเผยแพร่ศาสนารวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นไปอีก จากนั้นจึงจะรอคำอนุมัติเปิดศูนย์มิชชั่นอย่างเป็นทางการจากคณะกรรมการฯ (ปัจจุบัน โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน ได้สร้างอาคารทางการแพทย์ ราคา 60 ล้านบาท ชื่อ อาคารหมอบริกส์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่รำลึกถึงคุณงามความดีของท่าน ที่ได้เริ่มในการตั้งศูนย์รักษาพยาบาลผู้ป่วย จาก 3 จังหวัด คือ แพร่ น่าน และลำปาง จนกระทั่งกลายมาเป็น โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน ในสังกัด สภาคริสจักรในประเทศไทย ในปัจจุบัน) พ.ศ.2436 (ค.ศ.1893) หมอบริกส์ และหมอพีเพิลส์ (Dr. S.C. Peoples) จึงได้ซื้อที่ดินที่ริมฝั่งแม่น้ำยม บริเวณบ้านเชตะวัน ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ ในราคา 300 รูปี เดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน หมอบริกส์และครอบครัว ซึ่งเป็นมิชชั่นนารีครอบครัวแรกของจังหวัดแพร่ ก็ย้ายมาประจำที่ศูนย์มิชชั่นแห่งนี้ จากนั้นก็ได้ให้บริการรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยทั่วไป ถือเป็นสถานพยาบาลแผนปัจจุบันแห่งแรกของจังหวัดแพร่ ต่อมาในเดือนกรกฎาคม ก็ได้รับการอนุญาตให้ตั้งศูนย์มิชชั่นได้อย่างเป็นทางการ จากจดหมายของหมอบริกส์ ระบุว่า ศูนย์มิชชั่นแพร่ ที่ บ้านเชตะวัน ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ ระยะแรกประกอบด้วยบ้านพักของมิชชั่นนารี อาคารพยาบาล ห้องเก็บของ โบสถ์ บ้านพักคนงาน ยุ้งข้าว ต่อมามีครอบครัวมิชชั่นนารีย้ายมาอยู่ที่แพร่อีก คือครอบครัวของศาสนาจารย์ชิลด์ส (Rev. W. F. Shields) คณะมิชชั่นนารีจึงร่วมกันพัฒนาศูนย์ฯ ทั้งงานด้านศาสนา ควบคู่ไปกับการแพทย์และการศึกษา และสามารถก่อตั้งคริสตจักรเพรสไบทีเรียนที่ 1 แพร่อย่างเป็นทางการได้ใน วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2437 มีสมาชิกเบื้องต้น 12 คน หมอบริกส์มีหน้าที่รักษาผู้ป่วย ภรรยาของหมอบริกส์เป็นครูสอนผู้หญิงและเด็กหญิง ศาสนาจารย์ชิลด์สดูแลงานเผยแผ่ศาสนา และภรรยาของศาสนาจารย์ชิลด์สทำหน้าที่สอนเด็กเล็ก หลังจากนั้นศูนย์มิชชั่นแพร่ก็ดำเนินการไปได้อย่างก้าวหน้าและมีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์กบฏเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1903) โดยหมอโทมัส (Dr. James Thomas) ซึ่งเป็นมิชชั่นนารีประจำศูนย์ฯ ในขณะนั้นได้ร่วมกับชาวคริสเตียนช่วยเหลือครอบครัวของข้าราชการจากส่วนกลางให้รอดพ้นจากการถูกพวกเงี้ยวสังหาร หมอโทมัสยังเปิดศูนย์มิชชั่นให้เป็นที่พักพิงของคริสเตียนในจังหวัดแพร่ประมาณ 50 คน และให้การรักษาด้านมนุษยธรรมแก่ทหารไทยจากส่วนกลาง เจ้าหน้าที่ตำรวจของเมืองแพร่ รวมทั้งกองกำลังเงี้ยวบางส่วน จึงทำให้ คริสตจักรในจังหวัดแพร่ เป็นที่ยอมรับของรัฐบาล และสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างราบรื่น ในปีนั้นมีบันทึก (The Laos News, Chiang Mai, January 1904, P. 23) ว่านอกจากทหารและเจ้าหน้าที่แล้ว มีคนเขารักษาพยาบาลกับศูนย์มิชชั่นแพร่ กว่า 4,000 คน ใน พ.ศ. 2448 ศูนย์มิชชั่นแพร่ถูกลดระดับเป็นศูนย์ย่อยของคริสตจักรที่ลำปาง จึงไม่มี มิชชั่นนารีมาประจำอีก มีเพียงคริสเตียนในท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลสถานที่ให้ ใน พ.ศ. 2455 จึงได้มีการเปิดศูนย์มิชชั่นแพร่ใหม่อีกครั้งหนึ่ง มิชชั่นนารีที่มาประจำคือหมอคอร์ท (Dr. E. C. Cort) ศาสนาจารย์กิลลี่ส์ (Rev. Roderick Gillies) และมีนายอาร์เธอร์ แมคมัลลิน (Mr. Arthur B. McMullin) เป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการศึกษาด้วย ในตอนนี้คณะมิชชั่นนารีพบว่าศูนย์มิชชั่นแพร่ ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม บ้านเชตะวัน ถูกกระแสน้ำเซาะจนตลิ่งพัง รวมถึงมีน้ำท่วมบ้างเป็นครั้งคราว (ตามจดหมายของหมอบริกส์เมื่อแรกมาประจำที่แพร่) ศาสนาจารย์กิลลี่ส์กล่าวในจดหมายว่าต้องรื้อบ้านพักหลังหนึ่งจากสองหลังลงเพราะบริเวณที่ตั้งของบ้านถูกน้ำกัดเซาะจน อาจเป็นอันตราย และมิชชั่นนารีทั้งหมดต้องอยู่รวมกันในบ้านหลังเดียว ซึ่งคับแคบและลำบากมากจึงย้ายศูนย์ไปยังสถาน ที่แห่งใหม่ โดยได้จับจองที่ไว้แล้ว คือ โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน ในปัจจุบัน ถนนยันตรกิจโกศล ต.ในเวียง อ.เมือง จ.แพร่ จาก The Laos News (July 1913, p. 56-57) นายแมคมัลลินได้บันทึกเหตุการณ์ในตอนนั้นไว้ในบทความ “Twenty Years after in Pre” (ยี่สิบปีให้หลังในแพร่) ดังนี้ “วันที่ 5 พฤษภาคม (พ.ศ. 2456) ยี่สิบปีหลังจากที่นายแพทย์บริกส์และนางบริกส์ได้เปิดศูนย์ฯ แพร่ นายแพทย์และนาง อี.ซี. คอร์ท และนายเอ.บี. แมคมัลลิน ซึ่งเป็นมิชชั่นนารีประจำศูนย์ฯ แพร่ ได้ย้ายจากที่ตั้งเดิมที่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำยมมาที่ที่ตั้งใหม่ของศูนย์ฯ ซึ่งอยู่ที่ ถ. ท่าอิฐ เชื่อมกับสถานีรถไฟซึ่งอยู่ห่างไปประมาณ 15 ไมล์ การย้ายครั้งนี้เป็นเรื่องจำเป็นเพราะศูนย์ฯ เก่าถูกน้ำกัดเซาะตลิ่ง ที่ตั้งศูนย์ฯ แห่งใหม่อยู่บนถนนที่มีคนสัญจรไปมามากที่สุดของจังหวัดแพร่ มุ่งไปสู่จังหวัดอุตรดิตถ์ซึ่งเป็นจุดสำคัญในการขนส่งสินค้าทางเรือไปยังตอนใต้ของประเทศจีน หัวเมืองลาว และกรุงเทพฯ ที่ตั้งของศูนย์ฯ อยู่ใกล้กับตลาดที่คึกคักที่สุดของแพร่ ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำหรับการดำเนินกิจกรรมของคริสตจักร เมื่อเราซื้อที่ผืนนี้ มีอาคารไม้เก่าอยู่แล้วหลังหนึ่ง เราได้ดัดแปลงอาคารนี้เป็นโรงเรียนสตรี หอพักสำหรับนักเรียนบ้านไกลและครู ตอนนี้เราใช้อาคารนี้เป็นทั้งโบสถ์ โรงเรียน และอาคารอเนกประสงค์ นายชินวร กล่าวอีกว่า ในส่วนของเครือข่ายอนุรักดษ์บ้านไม้เมือง พบว่าปัจจุบันบ้านหลังนี้ได้เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา และหากปล่อยให้ผุพังไปก็ถือว่าเราได้สูญเสียสถาปัตยกรรมที่เป็นประวัตติศาสตร์คู่จังหวัดแพร่ และประเทศไทย จึงได้มีการ จัดนิทรรศการสถาปัตยกรรมบ้านฝรั่ง100 ปีวิถีฝรั่งและกาดหมั้ว หน้าลานบ้านมิชชั่นร้อยปี ในวันที่ 11-13 ก.พ.นี้ ในงาน จะมีการเปิดงานนิทรรศการที่บ้านร้อยปีมิชชั่นนารีภายในบริเวณ โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน โดยมีการจัด กาดหมั้ว ขายอาหารพื้นเมือง สาธิตการปั่นฝ้าย สานกระบุง งานหัตถกรรมพื้นบ้าน นิทรรศการภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองแพร่ในอดีต และจำลองสภาพความเป็นอยู่ของคณะมิชชั่นนารีในอดีตที่มาเมืองแพร่ในยุคนั้น เสวนาเรื่อง หมอบริกส์ อาคารบ้านพักมิชชั่นนารีในมุมมองของสถาปนิกและการอนุรักษ์อาคารเก่าในเมืองแพร่ โดยมีตัวแทนจากโรงพยาบาลแพร่คริสเตียน อาจารย์เพ็ญพรรณ (ครูโรงเรียนเจริญราษฏร์ ผู้เคยรู้จักกับกลุ่มมิชชั่นนารี) ข่ายลูกหลานเมืองแพร่ ชมรมอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองแพร่ และแขกรับเชิญอีกหลายท่าน เสวนาเรื่อง วิถีเกษตรกรรมเมื่อ120 ปีก่อน ปัจจุบันและอนาคตโดย เครือข่ายเกษตรยั่งยืน จังหวัดแพร่ ข่ายลูกหลานเมืองแพร่ และแขกรับเชิญ ทั้งสามวันมีคูปองแจกเพื่อร่วมกิจกรรมกาดหมั้ว สามารถนำไปแลกซื้ออาหารพื้นเมืองได้ฟรี ชมฟรีทั้งสามวัน ส่วนนิทรรศการสามารถเข้าชมได้ตั้งแต่เวลา 11.30 น.เป็นต้นไป การจัดงานได้รับการสนับสนุนจาก สภาคริสจักรในประเทศไทย โรงพยาบาลแพร่คริสเตียน ศูนย์ภูมิภาคโบราณคดีและวิจิตรศิลป์แห่งเชียตะวันออกเฉียงใต้ เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่ ชมรมอนุรักษ์สถาปัตยกรรมท้องถิ่นเมืองแพร่ อบจ.แพร่ และเทศบาลเมืองแพร่